ประวัติความเป็นมาของตระกูลแซ่เฮ่อ

(รอข้อมูลเพิ่มเติม)

ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าม้ง

ประวัติชาติพันธ์ชนเผ่าม้ง หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า เหมียวจู๋ (苗族) กล่าวกันว่าบรรพบุรุษของชาวม้ง คือ กลุ่มจิ่วหลี หรือ จิ่วหลีปู้โล่ว (九黎) ก่อนจะอพยพมาอยู่ยังประเทศไทยและประเทศอื่นๆ และเมื่อย้ายมาอยู่ที่ประเทศไทยพวกเขามีวัฒนธรรมอย่างไร วันนี้แอดจะมาเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ

นักวิชาการจีนเชื่อว่าชนเผ่า ม้ง หรือ เหมียว กำเนิดมาแล้วราว ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปี มีบรรพบุรุษเป็นกลุ่มจิ่วหลีหรือจิ่วหลีปู้โล่ว (九黎)โดยมีผู้นำคือ ชือโหยว (蚩尤) ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกันกับบรรพบุรุษชาวฮั่น คือ เหยียนตี้และหวงตี้ ต่อมาทั้ง ๓ กลุ่มนี้เกิดการสู้รบเพื่อแย่งดินแดนกัน โดยครั้งแรกชือโหยวที่เชื่อว่า...เป็นผู้นำของบรรพบุรุษของชาวม้งนั้นเป็นฝ่ายชนะ กล่าวกันว่า...ชือโหยวเป็นผู้นำที่เก่งกาจในเรื่องการสู้รบ ดังนั้นการจะเอาชนะชือโหยวเป็นเรื่องยาก ทำให้เหยียนตี้กับหวงตี้ร่วมกันสู้รบกับชือโหยวจนสามารถสังหารชือโหยวได้ จึงส่งผลให้กลุ่มจิ่วหลีที่เหลือต้องอพยพและย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำฮวงโห รวมถึงตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำแยงซี ต่อมากลุ่มจิ่วหลีก่อตั้งเมืองและอาณาจักรขึ้นมาใหม่ชื่อว่า ซานเหมียว แต่พวกเขาก็ต้องเผชิญสงครามอีกครั้งจากชาวฮั่นและพวกเขาก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ต้องอพยพยไปอยู่บริเวณกุ้ยโจว หูหนาน หูเป่ย เสฉวน ยูนนาน กวางสีและภูมิภาคอื่นๆ ของจีน จากประวัติศาสตร์จีนชนเผ่าม้งอพยพย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ทั้งหมด ๕ ครั้ง สาเหตุมาจากสงครามและย้ายที่ทำกิน ส่วนม้งในประเทศไทยมีประวัติเป็นมาอย่างไร และทำไมชนเผ่าม้งถึงไปอยู่ยังดินแดนแสนไกลอย่างอเมริกาได้ ตามไปอ่านเรื่องราวต่อใต้ภาษาอังกฤษ
👇
ภาพประกอบ…เป็นชุดชาวม้งในประเทศจีนซึ่งการแต่งกายของชาวม้งในแต่ละประเทศหรือพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน
♦️Many scholars believe that the Hmong in Southeast Asia migrated from China, or in Chinese, the Hmong people are called "Meow" (苗族). It is believed that the ancestors of the Hmong people were the Jiuli group (九黎) before immigrating to Thailand and other countries.
♦️The Hmong are an ethnic group in the mountains of Southeast Asia and has a long history. The Hmong migrated south from the 18th century due to political unrest and find suitable areas for cultivation. Currently, there are Hmong people living in China, Thailand, Vietnam, Laos, including the United States etc., The largest Hmong community in Thailand is at Khek Noi, Khao Kho, Phetchabun.
♦️Hmong means independent people. The Hmong people are divided into 2 groups: the Blue Hmong and the White Hmong and don't like to be called Miao. It was considered an insult. The population of the Hmong people in Thailand. It is the second most abundant after Karen. The Hmong language is classified under the Miao-Yao Jong branch, Chinese-Tibetan family no written language but borrowed the Roman alphabet
♦️Characteristics of houses: Hmong people prefer to build houses on high mountains. Build a house on the ground using the soil as a homegrown. The wall of the house is a wooden sheet with thatched roof. There is a bedroom and a kitchen in the house. The house will be large because they live in an extended family, the Hmong consider their elders to be the head of the family.
♦️Blue Hmong people's dress
(1.) Men will wear a black or blue shirt, short, embroidered pattern, long sleeves, edged with blue sleeves. The pants use the same color. The crotch is wide and drops down to the knees. The legs are narrow and have a red cloth around the waist in which both sides of the fabric are embroidered with patterns hanging down
(2.) Women will wear black or dark blue shirts. There is a pattern on the chest, long sleeves, and the cuffs are trimmed in blue. The shirt's collar hangs folded over the back, embroidered with patterns, and wears a pleated skirt around the body patterns from wax writing and dyed blue. There is a long piece of cloth embroidered with patterns dangling the hem off the skirt. Married women use plain cloth male circumcision with colored cloth with red cloth embroidered patterns on both sides and let it hang like a tassel girded with a silver belt. Wrap the shins with blue or black cloth. Bun the hair in the middle of the crown and have a bun to make it bigger and then use a bandana over the hair bun decorated with silverware and silver coins
♦️White Hmong people's dress
(1.) Men will dress similarly to the Blue Hmong but there is less ornamentation. On the neck were several silver rings around the neck.
(2.) Most women dress similarly to the Blue Hmong. Originally, it was popular to wear a plain white skirt without any pattern. There is a long piece of cloth that covers the front of the skirt and is embroidered with patterns, along with a red cloth band around the waist. Leave the tail of the fabric behind. Currently wearing dark blue Chinese style pants instead of a skirt. Wrap a bun and part the hair at the front to make your forehead look wider.
♦️Illustration: It is a dress of the Hmong people in China. The dress of the Hmong people in each country or area is different.
♦️จากเรื่องราวด้านบนของชนเผ่าม้งบ้างก็เชื่อว่า...ม้งอาจจะอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรียและมองโกเลียจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห เมื่อราวหลายพันปีมาแล้ว กล่าวกันว่า “ม้ง” อพยพลงมาอาศัยอยู่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ไทย เวียดนาม พม่า ลาวและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
♦️ม้งอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมาม้งอพยพมาอยู่ในไทยตั้งแต่เมื่อใด แต่จากเอกสารของสถาบันวิจัยชาวเขาคาดว่า...ม้งเริ่มต้นอพยพเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทยในราวปี ๒๓๘๗ – ๒๔๑๗ จุดที่ชนเผ่าม้งเดินทางเข้ามามีอยู่ด้วยกัน ๓ จุด คือ (๑) เข้ามาทางห้วยทราย – เชียงของ อ. เชียงของ จ. เชียงราย (๒) เข้ามาทางไชยบุรี ปัวและทุ่งช้าง เขต อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน (๓) เข้าทางภูคา – นาแห้ว และด่านซ้าย อ.นาแห้วและ อ.ด่านซ้าย จ.เลย ก่อนที่จะกระจายตัวไปยังพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย
♦️ชาวม้งในประเทศไทยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ (๑) ม้งขาว (ม้งเด๊อ (๒) ม้งน้ำเงิน ม้งดำ ม้งเขียวหรือม้งลาย (ม้งจั๊ว) ซึ่งแบ่งตามลักษณะการแต่งกายเป็นหลัก คือ

(๑.) ม้งขาว (ม้งเด๊อ) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะสวมกางเกงขาก๊วยสีดำ ฟ้าหรือน้ำเงิน สวมเสื้อแบบชาวจีน ส่วนกางเกงของผู้หญิงจะมีผ้าสีฟ้าหรือน้ำเงินคาดปิดทั้งด้านหน้าและหลัง มีความยาวตั้งแต่เอวถึงครึ่งน่อง และมักจะสวมกระโปรงจีบขาว เมื่อมีงานเทศกาลปีใหม่หรือการแต่งงาน

image037.jpg

(๒.) ม้งน้ำเงิน ม้งดำ ม้งเขียวหรือม้งลาย (ม้งจั๊ว) ผู้ชายจะสวมกางเกงสีดำเป้ายานและขายาวถึงข้อเท้า ปลายขากางเกงมีผ้าปักลวดลายเย็บปิดเป็นขอบ เสื้อสีดำหรือน้ำเงินแขนยาว มีผ้าปักลวดลายเช่นเดียวกับกางเกง ส่วนผู้หญิงจะสวมกระโปรงจีบยาวประมาณหัวเข่า มีลายดอกและลวดลายที่ปักหลากสี เช่น ฟ้า แดง ส้ม เขียว บานเย็นและขาว เป็นต้น
ม้งทั้งสองกลุ่มนี้จะมีสำเนียงภาษาพูดที่แตกต่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่ยังคงยึดถือและปฏิบัติตามประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางสังคมของชาวม้งที่ยึดถือแซ่สกุลหรือตระกูลเป็นหลัก โดยม้งแซ่เดียวกันถือว่าเป็นพี่น้องกัน
♦️ชนเผ่าม้งมีประมาณ ๑๘ ตระกลู (แซ่) คือ แซ่หว้า (Xeem Vaj) แซ่จาง (Xeem Tsab) แซ่ลี (Xeem Lis) แซ่โซ้ง (Xeem Xyooj) แซ่ท่อ (Xeem Thoj) แซ่เล่า (Xeem Lauj) แซ่มัว (Xeem Muas) แซ่ย่าง (Xeem Yaj) แซ่เฮ้อ (Xeem Hawj) แซ่วื้อ (Xeem Vwj) แซ่กือ (Xeem Kwm) แซ่หาญ (Xeem Ham) แซ่จื้อ (Xeem Tswb) แซ่ฟ่า (Xeem Faj) แซ่พ้า (Xeem Phab) แซ่กง (Xeem Koo) แซ่เฉ้ง (Xeem Tsheej) แซ่ค้า (Xeem Khab)
♦️ม้งอพยพไปอยู่อเมริกาและประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือในช่วงปีประมาณ ๒๕๑๓ - ๒๕๑๘ ม้งอพยพออกจากลาวเนื่องจากการปฏิวัติลาวที่เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลราชอาณาจักรลาว ส่งผลทำให้ม้งในลาวต้องแตกกระจายไปทั่วโลก การอพยพของชนเผ่าม้งในครั้งนั้นนับได้ว่ามากที่สุดและอพยพไปไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชนเผ่าม้ง โดยชาวม้งได้อพยพย้ายไปอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อาร์เจนตินา ฝรั่งเศสและอิตาลี เป็นต้น

📌 บทความนี้แปลโดยเพจ Thai Culture to the World
อ้างอิงที่มา (Reference)
ดร.ดนัย ชาววิวัฒน์ ประธานมูลนิธิฯ พัฒนาการศึกษาชนเผ่าบนที่ราบสูง ในช่องอินไซต์ล้านนา


ประเพณีปีใหม่ม้ง

4444.jpg

ปีใหม่ม้ง ตรงกับ วัน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ของม้ง ซึ่งตรงกับปฏิทินไทยคือ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 หรือ ปฏิทินจีน คือ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะเวลาระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ซึ่งในวันปีใหม่นี้ของชาวม้งจัดเป็นงานประเพณีที่ชาวม้งรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจากจะเป็นการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติมีประเพณีขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เป็นวันที่หนุ่มๆสาวๆในหมู่บ้านจะได้พบปะกัน มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีและการละเล่นต่างๆ เช่น ลูกข่าง ลูกข่าง เป่าแคน ยิงหน้าไม้ แต่นอกการละเล่นที่สร้างความสนุกสนานแล้วชาวม้งก็ไม่ลืมที่จะทำพิธีกรรมต้อนรับปีใหม่ซึ่งจัดเป็นพิธีกรรมที่ชาวม้งให้ความสำคัญกันมากโดยมี 4 อย่างดังนี้

วันดา

หรือ แรม 15 ค่ำ เดือน 12 (ตามปฏิทินม้ง วัน 30 ค่ำ) ชาวม้งจะมีการเตรียมต้อนรับปีใหม่โดยทุกบ้านจะทำความสะอาดบ้านโดยใช้ใบไผ่กวาดบ้านเพื่อเอาสิ่งไม่ดีไปกับปีเก่า และจะมีพิธีเรียกขวัญโดยนำไก่ 1 คู่ (ตัวผู้และตัวเมีย) พร้อมกับไข่เท่าจำนวนสมาชิกในบ้าน มาทำพิธีเรียกขวัญเงิน ขวัญทอง ขวัญไร่ ขวัญนา โดยระหว่างงานปีใหม่นี้จะจุดธูปหรือตะเกียงไว้กลางบ้านตลอดเพื่อให้เริ่มต้นมีแต่แสงสว่างและสิ่งดีๆ โดยนำไก่ตัวผู้อีกตัวต้มสุกมาแขวนไว้ที่ฝาผนังบ้าน แต่ละแซ่จะสอนสิ่งดีๆให้กับลูกหลาน ระหว่างที่สอนจะนำเม็ดข้าวโพดใส่ในกระด้งแล้วโยกไปมา ทุกวันของวันปีใหม่จะมีการจัดเลี้ยง แต่วันดาจะเป็นวันที่ดื่มเหล้ากันมากที่สุด กลางคืนของวันดานี้ทุกคนจะเฝ้ารอเสียงสัตว์ร้อง เพราะเสียงสัตว์ร้องเสียงแรกจะถือเป็นเวลาที่เริ่มต้นของวันปีใหม่ ถ้าเป็นเสียงไก่ร้องจะถือว่าดีที่สุด ทันทีที่ได้ยินเสียงสัตว์ร้องเสียงแรก ผู้ชายของทุกบ้านจะยิงปืนต้อนรับปีใหม่ และในเวลา 01.00 น. จะเทภาชนะที่บรรจุน้ำภายในบ้านทิ้งและตวงน้ำใส่ใหม่ ผู้หญิงจะเริ่มตำข้าวหุงข้าวเพื่อเตรียมเลี้ยงงานปีใหม่


ปัจจุบันชาวม้งมีการจัดปีใหม่ม้งที่แน่นอน คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ของม้ง ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 ตามปฏิทินไทย

วันขึ้นปีใหม่

(ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ) ในวันนี้จะมีการละเล่นในหมู่บ้าน เช่น การเล่นลูกข่าง ซึ่งจะแข่งขันกัน ใครตีได้แม่นหรือลูกข่างหมุนได้นานก็จะเป็นฮีโร่ของงาน นอกจากนี้วันนี้จะเป็นวันที่หนุ่มสาวจะพบปะกันโดยใช้วิธีโยนลูกช่วง โดยหนุ่มๆสาวๆก็จะแต่งกายด้วยชุดสวยงาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายทำลูกช่วงซึ่งทำจากผ้าเป็นลูกกลมๆและวานให้เพื่อนหญิงหรือจะเป็นหญิงที่แต่งงานแล้วเป็นผู้นำลูกช่วงของตนไปมอบให้กับชายหนุ่มที่ตนพึงพอใจ และหญิงสาวที่ทำหน้าที่เป็นแม่สื่อนี้จะบอกกับชายหนุ่มว่าลูกช่วงนั้นเป็นของหญิงสาวคนใดเพื่อที่ชายหนุ่มจะได้นำลูกช่วงนี้ไปโยนหรือขว้างเล่นกับหญิงสาวผู้เป็นเจ้าของลูกช่วงต่อไป หรือหากผู้ชายหมายตาหญิงสาวคนใดไว้ก็จะไปขอโยนลูกช่วงด้วย ถ้าฝ่ายหญิงไม่พอใจก็จะไม่โยนด้วย

วันที่สาม

ปีใหม่ม้ง(ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 1) เป็นวันที่จะไปดำหัวผู้เสียชีวิตไปแล้วที่หลุมศพ และถือเป็นวันสุดท้ายของปีใหม่ ไก่ที่ต้มไว้วันแรกต้องกินให้หมดวันนี้และดับธูปหรือตะเกียงที่จุดไว้ตลอดปีใหม่

วันที่สี่

เป็นวันที่ส่งผีกลับ ในตอนเช้าจะต้มไก่ใหม่ไว้บนโต๊ะ ผู้นำครอบครัวทำพิธีปล่อยผีกลับและบอกไว้ว่าถ้ามีอะไรจะเรียกผีนี้กลับมาช่วย ในหมู่บ้านชาวม้งบางหมู่บ้านจะมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านเรียกว่า ดงเซ้ง ซึ่งต้องดูแลให้ดี หากไม่เช่นน้นจะทำให้เกิดเหตุร้ายขึ้นได้ และในวันที่สี่นี้หมู่บ้านที่มีดงเซ้งก็จะเข้าไปทำความสะอาดและพิธีที่ดงเซ้งนี้เพื่อขอพรให้อยู่ดีมีสุขก็เป็นหลังจากที่ทำพิธีกรรมทั้งหมดที่เล่ามานี้ ก็มาถึงการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนานต่างๆของม้งที่มีมากมาย เช่น การตีลูกข่าง การยิงหน้าไม้ การโยนลูกช่วง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า แล้วสุกในระหว่างเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม แล้วจะต้องเก็บเกี่ยวโดยเคียวเกี่ยวข้าว ที่มีขนาดเล็ก เพราะเคี่ยวที่ใช้เกี่ยวนั้นสามารถที่จะเกี่ยวต้นข้าวได้เพียง 3-4 ต้นเท่านั้น จะเริ่มเกี่ยวได้เมื่อรวงข้าวสุกแต่ยังไม่เหลืองมาก ต้องเกี่ยวตอนที่รวงข้าวมีสีเขียวปนเหลือง เมื่อเกี่ยว เสร็จก็จะนำมานวดให้ข้าวเปลือกหลุดออกโดยไม่ต้องตากให้แห้ง นำข้าวเปลือกที่นวดเรียบร้อย

แล้วมาคั่วให้เม็ดข้าวแข็งและเปลือกข้าวแห้ง เพื่อให้สะดวกในการตำข้าว ในอดีตนั้นนิยมการตำข้าวด้วยโค้กกระเดื่อง เมื่อตำเสร็จเรียบร้อยนำข้าวมาหุงเพื่อเซ่นไหว้ผีปู่-ผีย่า ซึ่งในการทำพิธีเซ่นผีนั้นสามารถทำโดยการนำไก่ตัวผู้ที่ต้มทั้งตัวมาเซ่นไหว้ตรงผีประตูก่อน ซึ่งตำแหน่งที่จะต้องเซ่นไหว้มี 5 แห่งได้แก่ สื่อก๋าง ดั้งขอจุ๊บ ดั้งขอจุด ดั้งขอจ่อง ดั้งจี้ดั้ง 


ขณะทำพิธีต้องสวดบทสวดเพื่อที่บอกให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือได้รับรู้และ เข้ามาทานก่อน เมื่อทำพิธีเสร็จคนในบ้านถึงจะสามารถทานต่อได้ ซึ่งพิธีกินข้าวใหม่นั้นได้สืบทอด มานานหลายชั่วอายุคน

maxresdefault__3_.jpgประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานทั้งม้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี images__3_.jpgการตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นถือเป็นขนมของชาวม้งก็ว่าได้ บางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือ และนำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวนี้มาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย

Report abuse Learn more